Saturday, May 30, 2015

วิธีทำบุญง่ายๆและได้บารมี 10 ทิศ



วิธีทำบุญง่ายๆและได้บารมี 10 ทิศ 
โดยหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม
วิธีทำบุญง่ายๆ สำหรับคนไม่มีเวลา สามารถทำได้ทุกวัน โดยได้บารมี 10 ทัศ ครบถ้วนบริสุทธิ์ บริบูรณ์พูดถึงเวลาถ้าเราทำบุญ คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการ ตักบาตรหรือเข้าวัดทำบุญ เป็นส่วนมาก ซึ่
คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา ก็เลยเสียโอกาสในการสั่งสมบุญ บารมี วันนี้จึงมีเรื่องมาเล่าให้ทุกๆท่านได้อ่านและพิจารณา เผื่อจะได้แง่มุมใหม่ๆในการสร้างบุญกุศล สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลา เพื่อจะได้นำมาปฏิบัติอย่างง่ายๆ เพื่อสั่งสมบุญบารมี มีดังนี้

1.
หา กระปุกออมสิน หรือ บาตรพลาสติก ( ร้านสังฆทานต่างๆจะมีขาย ) หรือภาชนะที่สะดวก ในการหยอดเงิน นำมาวางไว้ที่ในห้องพระ หรือหิ้งพระ สำหรับคนที่อยู่คอนโด หรืออพาร์ทเม้นต์ ถ้าไม่มีห้องพระ ให้หารูปพระ มาติดที่ฝาผนังก็ได้

2.
ทุกวันให้เราสละเวลา เพียงวันละประมาณ 20-30 นาที สวดมนต์ไหว้พระเวลาไหนก็ได้ที่เราว่าง เราสบายใจ เช้า สาย บ่าย เย็น หรือก่อนนอน โดยเริ่มจากบท 

คำบูชาพระ 

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะนี้) 
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระธรรม ด้วยเครื่องสักการะนี้) 
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ (ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่งต่อพระสงฆ์ ด้วยเครื่องสักการะนี้)

คำบูชาพระรัตนตรัย 

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ(กราบ) 
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ(กราบ) 
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ(กราบ) 

นมัสการพระพุทธเจ้า 

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ 

*
ระหว่างที่ตั้งนะโม ก็ให้เรานำเงินมา จบเอาไว้ในมือ จะกี่บาทก็ได้ 5 บาท 10 บาท หรือ 20 บาท หรือจะมากกว่านั้นตามแต่ศรัทธา จากนั้นก็เริ่มสวด

คำกล่าวบูชาไตรสรณคมน์

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ 
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ 

บทสรรเสริญ พระพุทธคุณ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ 
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู 
อะนุตตะโร ปุริสสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ. 

บทสรรเสริญ พระธรรมคุณ 

สวากขาโต ภะคะวา ธัมโม 
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ. 

บทสรรเสริญ พระสังฆคุณ 

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
อุชุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ญายะปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
สามีจิปฎิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา 
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ 
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย 
อัญชะลีกะระนีโย อะนุตตะรัง ปุญญะเขตตัง โลกัสสา

พาหุงมหากา หรือ พุทธชัยมงคลคาถา (ถวายพรพระ)

๑. พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง 
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๒. มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง 
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๓. นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง 
เมตตัมพุเสกะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๔. อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง ธาวันติโย ชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง 
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๕. กัตตวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ 
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๖. สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง 
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๗. นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต 
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
๘. ทุคคาหะ ทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง 
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท ตันเตชะสา ภะวะตุ เม* ชะยะมังคะลานิ 
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถาโย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที 
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะ

สวดจบแล้วให้กลับมาสวด พระพุทธคุณ บทเดียวหรือ 9 จบ, เท่าอายุบวกหนึ่ง

*
ถ้าสวดให้ผู้อื่น เปลี่ยนเป็น เต
* * *
ถ้าไม่มีเวลา ให้กลับมาสวด บทพระพุทธคุณบทเดียว 9 จบ เท่าอายุบวกหนึ่ง

3.
ต่อจากนั้น ตั้งสมาธิจิตสักระยะหนึ่ง แล้วอธิษฐานจิตจนเสร็จ จากนั้น เอาเงินที่จบไว้ในมือ ใส่เข้าไปในภาชนะที่เตรียมไว้ที่หิ้งพระหรือโต๊ะหมู่บูชา หรือหน้ารูปพระ เสร็จแล้วอย่าลืม แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลทุกครั้งให้เจ้ากรรมนายเวร ทำอย่างนี้ทุกวันอย่าให้ขาด 

คาถาแผ่เมตตา (แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)

สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ 
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ 
อะนีฆา โหนตุ 
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ 
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย 
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย 
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ 

4.
หลังจากนั้น เราก็จะได้บารมีครบถ้วน เพียงแค่สวดมนต์ไม่กี่นาที และสิ่งเหล่านี้ก็จะสะสมในใจเราทีละน้อย เหมือนกับเราเก็บเงินวันละ บาท 10 วันก็ได้ 10 บาท แต่ถ้าเราไม่ทำอะไร เราก็จะไม่ได้อะไรเลย แล้วเงินที่เราหยอดทุกวัน ที่ได้จากการสวดมนต์ ก็เหมือนเราตักบาตรทุกวัน โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อมีโอกาศเข้าวัด หรือจะไปทำบุญตามสถานที่ต่างๆ เราก็นำเงินนั้นแหละไปทำบุญ หยอดตู้ ใส่ซอง ทำให้จิตของเราติดอยู่กับบุญกุศล ทุกวัน

บารมีครบถ้วน 10 ประการมีดังนี้

1.
ทานบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์เสร็จ เราทำทานคือเอาเงินที่จบใส่ใน กระปุกออมสิน หรืออื่นๆ เป็น ทานบารมี

2.
ศีลบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ในขณะนั้นเราไม่ได้ทำบาปกรรมกับใคร มีศีลอยู่ในขณะที่สวดมี ศีลบารมี

3.
เนกขัมมบารมี = ขณะที่เราสวดมนต์อยู่ จิตของเราปราศจาก นิวรณ์มารบกวนจิตใจ ถือว่าเป็นการบวชใจ ถือว่าเป็น เนกขัมมบารมี

4.
ปัญญาบารมี = การสวดมนต์ทำด้วยความศรัทธา ทำด้วยปัญญาที่เห็นว่ามันเป็นประโยชน์ช่วยฝึกฝนให้เกิดสติ มีสมาธิเป็น ปัญญาบารมี

5.
วิริยะบารมี = ถ้าเราไม่มีความเพียร เราก็ทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นความเพียรเป็น วิริยะบารมี

6.
ขันติบารมี= มีความเพียรแล้ว ไม่มีความอดทน ความเพียรก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องมีความอดทน ความอดทนเป็น ขันติบารมี

7.
สัจจะบารมี = มีความเพียร มีความอดทนแล้ว และมีความจริงใจในการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งความจริงใจคือ สัจจะบารมี

8.
อธิษฐานบารมี = เมื่อเราสวดมนต์เสร็จ ทำสมาธิ ตั้งจิตอธิฐาน การอธิฐานเป็น อธิษฐานบารมี

9.
เมตตาบารมี = ใส่บาตร สวดมนต์เสร็จ ก็ต้องแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล การแผ่เมตตาเป็น เมตตาบารมี

10.
อุเบกขาบารมี = ขณะที่แผ่เมตตา เราต้องทำใจของเราให้มีเมตตา ต่อสัตว์ทั้งหลาย ทำใจให้เป็นพรหมวิหาร 4 อุเบกขา วางเฉย อโหสิกรรม กับบุคคลที่เราเคยล่วงเกินกันมา ไม่โกรธใคร ไม่เกลียดใคร ไม่ชอบใคร ไม่ชังใคร ทำใจให้นิ่ง ทำจิตให้สงบ วางใจให้เป็นอุเบกขา เป็น อุเบกขาบารมี..

ด้วยรักปรารถนาดีอย่างจริงใจ...
ธูปพยากรณ์หนึ่งเดียวในโลก...

No comments:

Post a Comment