Friday, December 10, 2010

โครงสร้างบุคลิกภาพ

โครงสร้างบุคลิกภาพ



ฟรอยด์อธิบายว่า โครงสร้างบุคลิกภาพ ประกอบด้วยพลัง ๓ ประการ ได้แก่ Id, Ego และ Super Ego (ยังไม่พบศัพท์ภาษาไทย ที่แปลตรงความหมายอย่างแม่นยำ
จึงขอให้ทับศัพท์ด้วยภาษาอังกฤษไปพลางก่อน – ผู้เขียน ) พลังทั้ง ๓ มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็มีอิทธิพลต่อกันและทำงานร่วมกัน
บุคลิกภาพของผู้ใดมีลักษณะใดขึ้นอยู่กับพลัง Id, Ego และ Super Ego ทำงานประสานร่วมกันในลักษณะอย่างไร

(1) Id
เป็นพลังงานติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด จึงหมายรวมทั้งสัญชาตญาณด้วย มักเกี่ยวพันกับการสนองความปรารถนาทางกาย เป็นพลังเพื่อให้ได้มาซึ่งความพอใจโดย
ไม่คิดคำนึงถึงเหตุผลตามความเป็นจริง หรือความถูกต้องดีงามแล้วพลัง Id จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พลังแสวงหาความสุข (Pleasure Seeking Principle)
พฤติกรรมที่เกิดจากการกระตุ้นของพลัง Id มีหลายรูปแบบซึ่งไม่พึงประสงค์จะพรรณนา ณ ที่นี้ ในช่วงวัยเด็กพลัง Id มีหลายรูปแบบ ซึ่งไม่พึงประสงค์จะพรรณนา
ณที่นี้ ในช่วงวันเด็กพลัง Ego และ Super Ego หากเก็บถูกกักกันมากเกินไปไม่ให้ได้รับความพึงพอใจ ตอบสนอง Id ดังนี้จะเป็นผลร้ายต่อพัฒนาการบุคลิกภาพที่สมดุล
ในภายหน้า เช่น เป็นคนอ่อนไหวง่ายต่อคำสรรเสริญ นินทา เป็นต้น

(2) Ego
เป็นพลังแหงการรู้และเข้าใจ, การรับรู้ข้อเท็จจริง, การใช้เหตุผล, การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย, การแสวงหาวิธีการเพื่อตอบสนองพลัง Id เช่น เมื่อหิว
(Id)พลัง Ego ก็จะใช้เหตุผลตรึกตรองว่าจะบำบัดความหิวโดยวิธีใด ตามสถานภาพแวดล้อม เช่น ไปสำรวจตู้เย็น ทำอาหารเอง? ไปรับประทานอาหารนอกบ้าน?ฯลฯ
จึงมีชื่อเรียก Ego อีกอย่างพลัง ‘รู้ความจริง’ (Reality principle)

(3) Super Ego
เป็นพลังที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่นเดียวกับ Ego แต่แตกต่างจาก Ego
โดยลักษณะคือเป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับค่านิยมต่าง ๆ เช่น ความดี ชั่วถูก ผิดมโนธรรม ความยุติธรรม ฯลฯ Super Ego หักห้ามความรุนแรงของพลัง Id โดยเฉพาะพลังจากสัญชาตญาณแรงขับทางเพศและความก้าวร้าว

(4) การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง 3 :
ลักษณะบุคลิกภาพของคนเกิดจาก การทำงานร่วมกันของพลังทั้ง ๓ นี้ พลังใดมีอิทธิพล
เหนือพลังอื่น ย่อมเป็นตัวชี้ลักษณะบุคลิกภาพของคนนั้น เช่น ถ้าพลัง Id มีอำนาจสูง บุคลิกของคนผู้นั้นก็เป็นแบบเด็กไม่รู้จักโต, เอาแต่ใจตนเอง
ถ้า Ego มีอำนาจสูง คนนั้นจะเป็นคนมีเหตุผล เป็นนักปฏิบัติ ถ้า Super Ego มีอำนาจสูง ก็เป็นนักอุดมคตินักทฤษฎี ดร. ประมวญ คิดคินสัน ได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างน่าฟังว่า

“สำหรับบุคลิกภาพอันพึงประสงค์ คือ ความมี Ego เข้มแข็ง สามารถจัดการกับ Id ได้อย่างมีสมรรถภาพ โดยอาศัยหลักแห่งความจริงเป็นที่ตั้ง และสามารถโน้มน้อม Super Ego ให้เข้าสู่หลักแห่งความจริง เพื่อให้เกิดการประสมประสานอย่างสนิทสนมในการดำเนินชีวิต”

ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ที่ได้ศึกษาวิเคราะห์จิตของมนุษย์ โดยทฤษฎีส่วนใหญ่ของฟรอยด์จะได้จากประสบการณ์จากการรักษาผู้ป่วยในคลินิก ซึ่งฟรอยด์ตั้งข้อสังเกตว่ามีคนป่วยบางประเภทที่ไม่สามารถค้นหาสาเหตุทางกายได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแนวทางที่ทำให้ฟรอยด์สนใจการที่จะบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยการใช้วิธีการทางจิต (Psychoanalysis)

ทฤษฎีของฟรอยด์ สามารถอธิบายได้ใน 5 ส่วน คือ

1) จิตสำนึก (Conscious) – (ส่วนบนสุด) เป็นจิตส่วนที่เราตระหนักรู้ เมื่อตื่นและรู้ตัว
จิตก่อนสำนึก (Pre-Conscious) – (ส่วนที่คั่นระหว่างจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก) เป็นจิตที่ช่วยให้เข้าใจถึงจิตใต้สำนึกอย่างรางๆ ประกอบด้วยความจำจากความฝันหรือคำพูดที่พลั้งเผลอ
จิตไร้สำนึก (Unconscious) – (ส่วนล่างสุด) จิตส่วนนี้เต็มไปด้วยความปรารถนา ความกลัวความทรงจำที่เจ็บปวดในอดีตที่ถูกซ่อนไว้

2) ลิบิโด (Libido) ตามมุมมองของฟรอยด์ หมายถึง พลังงานที่เรามีมาตั้งแต่กำเนิดซึ่งช่วยให้เราสามารถดำรงอยู่ได้ ตัวอย่างเช่น แรงขับทางเพศ

 3) อิด (Id) อีโก้ (Ego) ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) ฟรอยด์ได้แบ่งจิตมนุษย์ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
อิด (Id) เป็นส่วนของจิตที่ติดตัวมาแต่กำเนิด และตั้งอยู่ตามลำพังในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต อิดทำงานโดยมุ่งนำมาซึ่งความสุขความพอใจของคนเรา
อีโก้ (Ego) จะเริ่มก่อตั้งในช่วงปีที่สองของชีวิต อีโก้ทำงานโดยยึด “หลักแห่งความเป็นจริง” เพราะในการดำรงชีวิตนั้นต้องคำนึงถึงความเป็นจริงและวางแผนในอนาคต
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นจิตส่วนที่เริ่มพัฒนาในวัยประมาณ 3 ขวบ โดยได้รับอิทธิพลจากกรเลี้ยงดู และจะพัฒนาเต็มที่ในช่วงวัยรุ่น
4) ลำดับขั้นของพัฒนาการทางเพศ ฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ดังต่อไปนี้
       1. ขั้นใช้ปาก (Oral Stage) อายุ 0-2 ปี
       2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) อายุ 2-3 ปี
       3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) อายุ 3-6 ปี
       4. ขั้นแฝง (Latency Stage) อายุ 6-11 ปี
       5. ขั้นวัยรุ่น (Genital Stage) อายุ 11 ปีขึ้นไป

5) กลไกป้องกันทางจิต (Defense Mechanism) ฟรอยด์อธิบายว่าคนเรามีวิธีการป้องกันตนเองจากความคิดแความรู้สึกที่ไม่ดีหลายวิธี หากคนเราใช้กลไกป้องกันทางจิตเหล่านี้ในระดับที่เหมาะสมก็จะมีประโยชน์ แต่หากเราใช้มันมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ตัวอย่างของกลไกป้องกันทางจิต อาทิเช่น การเก็บกด (Repression) การถดถอย (Regression) การปฏิเสธความจริง การโยนความผิดให้ผู้อื่น

No comments:

Post a Comment